วันพฤหัสบดีที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ความหมายนัยตรงและความหมายในประหวัด

ความหมายของคำ
           คำไทยเป็นสิ่งสำคัญในการใช้ติดต่อสื่อสารกัน คำมีความหมายได้หลายอย่าง อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามการนำไปใช้ในการสื่อสารกัน เมื่อเรียงเข้าประโยคจะมีความหมายเจตนาของผู้ส่งสาร  ความหมายของคำแบ่งออกเป็น 2 ประการ คือ

           1.  คำที่มีความหมายโดยตรง เป็นคำที่ปรากฏในพจนานุกรม อาจมีได้มากกว่า 1                                                                     ความหมายเช่น            
               ขัน  น. ภาชนะสำหรับตักน้ำหรือใส่น้ำมีหลายชนิด
                      ก. ทำให้ตึงหรือให้แน่นด้วยวิธีหมุนกวดเร่งเข้าไป เช่น ขันชะเนาะ ขันเกลียว
                      ก. อาการร้องเป็นเสียงอย่างหนึ่งของไก่ หรือนกบางชนิด เช่น นกเขา
                      ก. หัวเราะ นึกอยาหัวเราะ
                   คำที่มีความหมายโดยตรงยังมีข้อสังเกต ดังนี้

                      1.1 คำบางคำที่มีความหมายเหมือนกัน  เช่น
                           แข โสม ศศี ศศิธร นิศากร หมายถึง พระจันทร์
                           วจี วาจา วจี พจนา พจมาน ถ้อย หมายถึง คำพูด
                      อยากใฝ่ฝันอยากเอื้อมไปถึงโสม (หมายถึง พระจันทร์)
                      สักวาหวานอื่นมีหมื่นแสน ไม่เหมือนแม้นพจมานที่หวานหอม (หมายถึง คำพูด)
                    1.2  คำที่มีความหมายใกล้เคียงกัน อาจทำให้ผู้ส่งสารใช้ผิดพลาดได้ จึงต้องระมัดระวังในการเลือกใช้คำให้เหมาะสมถูกต้อง คำที่มีความหมายใกล้เคียงกัน เช่น
               
เพิ่ม-เติม
รัก-ชอบ
เช็ด-ถู
แออัด-คับคั่ง
อวบ-อ้วน
แคะ-แงะ
เกลียด-ชัง
ยุบ-บุบ
โกรธ-แค้น
           ตัวอย่าง คำว่า รัก-ชอบ หมายถึง ความพอใจ
                      รัก หมายถึง พอใจอย่างผูกพัน ชื่นชมยินดี
                      ชอบ หมายถึง พอใจ
                      อาจารย์ปฏิเสธการแต่งงานกับมงคล เพราะเธอไม่ได้รักเขาเพียงแต่ชอบแบบพี่ชายเท่านั้น

                      1.3  คำที่มีความหมายตรงกันข้าม จะช่วยเน้นให้เห็นความขัดแย้งกันชัดเจนมากยิ่งขึ้น เช่น
โง่-ฉลาด
ทุกข์-สุข
อ้วน-ผอม
รวย-จน
แพ้-ชนะ
ขึ้น-ลง
ขาว-ดำ
เข้า-ออก
ดี-ชั่ว
สะอาด-สกปรก
สูง-ต่ำ
ร้อน-หนาว
           ตัวอย่าง คำว่า รวย-จน
                      รวย หมายถึง มีมาก
                      จน หมายถึง ขาดแคลน
           บุญธรรมเป็นคนรวย แต่สมยศเป็นคนจน

           2.  คำที่มีความหมายโดยนัย เป็นความหมายของคำที่ไม่ปรากฏตามตัวอักษร แต่เมื่อกล่าวแล้วจะทำให้นึกไปถึงอีกสิ่งหนึ่ง ซึ่งเป็นความหมายแฝงอยู่ในคำนั้น เช่น
                      หงส์ หมายถึง นกจำพวกเป็ด ลำตัวใหญ่ คอยาว (ความหมายโดยตรง)
                      หงส์ หมายถึง ผู้ดี ผู้มีศักดิ์ศรี (ความหมายโดยนัย)
           ตัวอย่าง คำว่า หงส์
                      หงส์ขาว หงส์ดำ เป็นพันธุ์ชนิดหนึ่งของหงส์ (ความหมายโดยตรง)
                      ถ้ามาลีรู้จักเลือกคบคนดี เธอจะเป็นหงส์ไปด้วย (ความหมายโดยนัย)

           คำที่มีความหมายโดยนัยยังมีข้อสังเกต ดังนี้
                      2.1 คำบางคำมีความหมายนัยประหวัด เมื่อกล่าวถึงแล้วจะไม่ได้นึกถึงความหมายโดยตรงแต่จะนึกไปถึงอีกสิ่งที่มีความหมายเกี่ยวโยงกันกับ คำนั้น เช่น
                      เธอมีปัญหาอะไรควรปรึกษาผู้ใหญ่
                      (ผู้ใหญ่ มีความหมายนัยประหวัดว่า ผู้ที่มีประสบการณ์มากเป็นที่พึ่งได้)
                      คิดจะเด็ดดอกฟ้าก็ต้องทำใจไม่กลัวความผิดหวัง
                      (ดอกฟ้า มีความหมายนัยประหวัดว่า หญิงผู้สูงศักดิ์)
                      2.2  คำที่มีความหมายเปรียบเทียบ การเปรียบเทียบจะช่วยให้เกิดความรู้สึก หรือเห็นลักษณะของสิ่งนั้นได้ชัดเจนขึ้น เช่น
                      ลูกคือดวงใจของพ่อแม่
                      ดวงใจ หมายความว่า สิ่งสำคัญที่สุด (เปรียบเทียบกับใจซึ่งเป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย)
                      เธอสวยดุจเทพธิดา
                      เทพธิดา หมายถึง ความดีความสวยที่สุด (เปรียบเทียบกับความงามของเทพธิดา ซึ่งมีความสวยงามที่สุดบนสวรรค์)
                                                                 นัยประหวัด

                     นัยประหวัด ก็ คือ ความหมายที่แฝงอยู่นัยๆ ที่ให้ข้อคิด คำคม หรือรหัสลับที่ซ่อนอยู่ เช่น บัวมี 4 เหล่า เปรียบเหมือนคน 4 ประเภท เวลานักปราชญ์พูด ไม่จำเป็นต้องว่าใครตรงๆ ว่าใครดีใครชั่ว เป็นต้น
ส่วนความหมายเชิงอุปมา ก็คือ การเปรียบเทียบว่า อย่างหนึ่ง เหมือน อีกอย่างหนึ่ง โดยมีคำแสดงการเปรียบเทียบรวมอยู่ด้วยพ่อของเรามีพระคุณเลอค่า เปรียบเกินกว่า พสุธา มหาสมุทร

                                                             ตัวอย่าง
มือขวา มีความหมายนัยตรง คือ มือข้างขวา ความหมายนัยประหวัด คือ ใกล้ชิด,เก่งกล้า,ไว้วางใจได้                                      มือแข็ง มีความหมายนัยตรง คือ มือแข็งแรง ความหมายนัยประหวัด คือ ไม่ค่อยไหว้คนง่าย,เก่ง,
เล่นการพนัน ไม่ค่อยเสีย
มือสะอาด มีความหมายนัยตรง คือ มือที่สะอาด ความหมายนัยประหวัด คือ มีความประพฤติดี มีความ
ซื่อสัตย์สุจริต
มืออ่อน มีความหมายนัยตรง คือ มือที่อ่อน ความหมายนัยประหวัด นอบน้อม,มีความสามารถน้อย
มือตำลึง มีความหมายนัยตรง หมายถึง หนวดของต้นตำลึง ไม่มีความหมายนัยประหวัด
มือสกปรก มีความหมายนัยตรง หมายถึง มือที่สกปรก ความหมายนัยประหวัด คือ คนที่ไปเกี่ยวข้องกับเรื่องชั่วร้าย
มือเบา มีความหมายนัยประหวัด หมายถึง อาการที่ใช้มือทำอะไรอย่างละมุนละไมหรือประณีตบรรจง
ไม่มีความหมายนัยตรง
มือร้อน มีความหมายนัยตรง คือ มือที่ร้อน ความหมายนัยประหวัด คือ คนที่ปลูกต้นไม้ไม่ขึ้น
มือใหม่ มีความหมายนัยตรง คือ มือใหม่ (ซึ่งอาจเกิดจากการทำศัลยกรรม) ความหมายนัยประหวัด คือ
ยังไม่มีความชำนาญ
มือผี มีความหมายนัยตรง คือ มือของผี ความหมายนัยประหวัด คือ ขาไพ่ที่เข้ามาเล่นให้ครบสำรับ
ไม่ต้องได้เสียด้วย
มือเก่า มีความหมายนัยตรง คือ มือเดิม(ก่อนทำศัลยกรรม) ความหมายนัยประหวัดคือ มีความชำนาญ
หรือช่ำชองมาก
มื
อจับ มีความหมายนัยตรง คือ ที่ใช้จับ ไม่มีความหมายนัยประหวัด



4 ความคิดเห็น: